หน่วยงานของเขต



                                           โครงสร้างบริหารสำนักงานเขตลาดพร้าว



                                                                                 
              หน่วยงาน                                                                  หมายเลขโทรศัพท์

ผู้อำนวยการเขต                                               0-2539-7777 , 0-2539-7780

ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต (ฝ่าย 1)                                     0-2539-7778

ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต (ฝ่าย 2)                                    0-2539-7779

_________________________________________________________________________________
ฝ่ายปกครอง                                                                             0-2539-7780

      ฝ่ายปกครองมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสารบรรณและธุรการทั่วไป การเงินและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การปกครองท้องที่ การเลือกตั้ง การประชาสัมพันธ์ การรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์และอุบัติภัย การป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือน การจัดทำแผนพัฒนาเขตงานด้านสารสนเทศ การรับส่งวิทยุของเขต การดูแลรักษาสถานสถานที่ และยานพาหนะส่วนกลางและปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
การบริการประชาชนตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 คือ การรับรองบุคคลและรับรองเรื่องราวต่าง ๆ เป็นการดำเนินการสอบสวนออกหนังสือรับรองกรณีต่าง ๆ ให้ผู้ประสงค์ที่ได้รับหนังสือรับรองติดต่อ ณ สำนักงานเขตท้องที่ได้ดังนี้
     -  รับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน
     -  รับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ
     -  รับรองสถานที่เกิด
     -  รับรองว่าบ้านถูกไฟไหม้
     -  รับรองฐานะของบุคคลเพื่อรับอุปการะผู้พ้นโทษ
     -  รับรองความประพฤติ
     -  รับรองว่าบุคคลยังมีชีวิตอยู่เพื่อไปรับบำนาญ
     -  รับรองสถานภาพการสมรส
     -  รับรองลายมือชื่อกรณีให้ความยินยอมบุตรเดินทางไปต่างประเทศ
     -  รับรองว่าได้รับเงินค่าเลี้ยงดูจากบุตร หรือผู้ส่งเงินในต่างประเทศ เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการลดเงินภาษีเงินได้
     -  รับรองสถานะทางครอบครัวของคนงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ
     -  การสอบสวนเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลกรณีอื่น ๆ
โดยมีหลักฐานที่ต้องใช้
     1.  บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง
     2.  ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เกี่ยวข้อง
     3.  พยานบุคคลอย่างน้อย 2 คน
     4.  เอกสารที่จะให้รับรองและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อ

เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนพาณิชย์
1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของกิจการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ
    หรือผู้รับผิดชอบในการประกอบกิจการในประเทศ
2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
4. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
5. กรณีเจ้าของกิจการมิได้เป็นเจ้าบ้าน     ณ สถานประกอบการดังกล่าว แนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    5.1 หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน
         สำเนาบัตรประชาชนเจ้าบ้าน
    5.2 (กรณีเช่าสถานที่)
          (1) ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา
             - สำเนาทะเบียนบ้านของเลขที่ตั้งสถาน
               ประกอบการ
             - สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
             - สำเนาบัตรประชาชนผู้ให้เช่า (เจ้าบ้าน)
          (2) ผู้ให้เช่ามีสถานะเป็นบริษัท
             - สำเนาสัญญาเช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
             - หนังสือรับรองบริษัท พร้อมลงลายมือชื่อของ
               ผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
             - สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
          (3) กรณีการซื้ออาคารชุด/ห้องชุด
             - สำเนาโฉนดที่ดิน/ห้องชุด

          ขอนัดจดทะเบียนพาณิชย์และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่  bsc_ladprao@hotmail.com

_________________________________________________________________________________
ฝ่ายทะเบียน                                                           0-2538-6702 , 0-2539-7771

1. การจดทะเบียนสมรส     -  บัตรประจำตัวประชาชน  และทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านทั้งสองฝ่าย
     -  พยานบุคคล 2 คน
     -  ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายยังไม่บรรลุนิติภาวะ  (ชายหรือหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์) ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มาลงลายมือชื่อแสดงเจตนายินยอมด้วยตนเองต่อหน้านายทะเบียน พร้อมทั้งนำหลักฐานแสดงตนมาด้วย (บัตรประจำตัวประชาชน) หรือมีหนังสือยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาแสดง
     -  ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายเคยจดทะเบียนหย่ามาก่อน ให้นำหลักฐานการหย่ามาแสดง สำหรับฝ่ายหญิงถ้าการหย่าไม่ครบ 310 วัน ให้นำใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดงด้วย (ยกเว้นกรณีสมรสกับคุ่สมรสเดิม)
     -  การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติให้นำหนังสือรับรองจากสถานฑูต หรือกงสุลของผู้ร้องในประเทศไทย และแปลข้อความเป็นภาษาไทยผ่านการรับรองของกระทรวงการต่างประเทศ
     -  หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ฯลฯ
2. การจดทะเบียนหย่า     -  หลักฐานการจดทะเบียนสมรส
     -  ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชน (ทั้งสองฝ่าย)
     -  หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เช่น การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ฯลฯ
3. การจดทะเบียนรับรองบุตร     -  บิดาผู้ยื่นคำร้อง
     -  ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง
     -  บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา บุตร
     -  สูติบัตร และสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร
     -  ให้นำมารดาและบุตรมาลงลายมือชื่อให้ความยินยอม ณ สำนักงานเขต
4. การแจ้งย้ายเข้า     -  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
     -  บัตรประจำตัวประชาชนผู้ไปแจ้งย้าย
     -  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ต้องการแจ้งย้ายเข้า
     -  ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ต้องให้เจ้าบ้านลงชื่อยินยอมให้ย้ายเข้าในใบแจ้งการย้ายที่อยู่
5. การแจ้งย้ายออก     -  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
     -  บัตรประจำตัวประชาชนผู้ไปแจ้งย้าย
     -  ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     -  รายละเอียดสถานที่ที่จะย้ายไปอยู่
     -  หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านในกรณีที่เจ้าบ้านมิได้มาทำการแจ้งย้ายออกเอง
6. การแจ้งย้ายปลายทาง     ผู้ย้ายที่อยู่ยื่นคำร้องขอย้ายปลายทางต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ไปอยู่ใหม่ โดยแสดงหลักฐาน
     -  ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของบ้านที่จะย้ายเข้า
     -  บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้านที่จะย้ายไปอยู่ใหม่พร้อมคำยินยอมเป็นหนังสือ
     -  บัตรประจำตัวประชาชนผู้ย้าย
7. การขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง     บุคคลที่จะขอเปลี่ยนชื่อตัว หรือ ชื่อรอง ต้องบรรลุนิติภาวะ ถ้าเป็นผู้เยาว์ต้องให้มารดา บิดา หรือผู้ปกครองเป็นผู้ยื่นคำขอแทน
     -  บัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง
     -  ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ของผู้เปลี่ยนชื่อตัว ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์และบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ดำเนินการแทน
8. การขอตั้งชื่อสกุล     บุคคลที่จะขอตั้งชื่อสกุลต้องบรรลุนิติภาวะถ้าเป็นผู้เยาว์ต้องให้มารดาหรือบิดา หรือผู้ปกครองเป็นผู้ยื่นคำขอแทน ที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขตท้องที่
     -  บัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอตั้งชื่อสกุล
     -  ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ขอตั้งชื่อสกุล
     -  กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ใช้สูติบัตรผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ที่มีชื่อผู้เยาว์บัตรประจำตัวประชาชน ผู้ดำเนินการแทน
9. การแจ้งเกิดภายในกำหนด     -  ต้องแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด หากไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่เกิน 1,000.-บาท
     -  บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
     -  บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน บิดาและมารดาเด็ก พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     -  ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     -  หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านหรือจากมารดาเด็ก
     -  หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
10. การแจ้งตาย
      
-  กรณีมีคนตายในบ้านให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขตท้องที่ที่มีคนตาย ภายใน 24 ชั่วโมง
     -  บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
     -  ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน คนที่ตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)
     -  หนังสือรับรองคนตาย (ถ้ามี)
11. ขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก (อายุ 15 ปีบริบูรณ์)     บุคคลสัญชาติไทยอายุ 15 ปีบริบูรณ์ ต้องทำบัตรภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ หากเกินกว่า 60 วัน ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
     -  ยื่นคำขอมีบัตรตามแบบ บป.1 พร้อมทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
     -  สูติบัตร หรือหลักฐานทางราชการออกให้ หรือนำเจ้าบ้าน หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือไปให้การรับรอง
12. ขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่
      กรณีบัตรสูญหายหรือถูกทำลาย
     -  สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่ออยู่
     -  หลักฐานที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปติด
     -  กรณีตรวจสอบหลักฐานเดิมไม่พบ ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือไปให้การรับรอง
13. การขอเลขประจำบ้าน     *กรณีบ้านปลูกใหม่ ให้เจ้าของบ้านผู้รับอนุญาติให้ปลูกบ้านเป็นผู้แจ้งที่สำนักงานเขตท้องที่ที่บ้านนั้นตั้งอยู่เพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันสร้างบ้านเสร็จหากไม่ขอภายในกำหนดปรับไม่เกิน 1,000.-บาท
     -  บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง และสำเนาทะเบียนบ้าน
     -  ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และแบบแปลนการก่อสร้าง (ถ้ามี)
14. การแจ้งรื้อบ้าน     ให้เจ้าของบ้านหรือเจ้าบ้าน เป็นผู้แจ้งที่สำนักงานเขตท้องที่ ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันรื้อเสร็จ หากไม่ดำเนินการแจ้ง ภายในระยะกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000.-บาท
     -  บัตรประจำตัวประชาชน
     -  ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

_________________________________________________________________________________
ฝ่ายโยธา                                                                  0-2538-7119 , 0-2539-8245

     มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการก่อสร้างซ่อมแซมและปรับปรุงโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สิ่งสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามงบประมาณประจำปี การสำรวจเพื่อวางแผนการก่อสร้าง  การปรับปรุงระบบระบายน้ำ การบำรุงรักษาคูคลอง และท่อระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วม การควบคุมบังคับการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร  ตรวจสอบควบคุมตรวจสอบดูแลรักษาที่สาธารณะ ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง วางผังเมือง ปรับปรุงบริเวณเฉพาะแห่ง หรือบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลง ด้านระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ให้เป็นไปตามมาตรฐานผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร รวมทั้งวางแผนด้านงบประมาณ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

การควบคุมอาคาร ประเภทอาคารที่ขออนุญาตกับสำนักงานเขต     ผู้มีความประสงค์ที่จะก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารสูงไม่เกิน 4 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 15 เมตร ทุกประเภท ยกเว้นอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ โรงแรม โรงพยาบาล โรงงานทุกประเภท ซึ่งไม่ใช่โรงงานที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมในครอบครัว และโรงงานที่ประกอบกิจการโดยไม่ก่อเหตุรำคาญ หรือไม่เป็นมลพิษต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม (ตามกฏกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกแบบตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522)

ประเภทอาคารที่ขออนุญาตที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา
    ผู้มีความประสงค์จะก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารที่มีความสูงเกิน 4 ชั้น หรือสูงเกิน 15 เมตร และอาคารอื่นใดที่นอกเหนืออำนาจของสำนักงานเขต
1. การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร  หลักฐานที่ต้องใช้
     1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของ ผู้ขออนุญาตก่อสร้างบอาคาร พร้อมทั้งรับรองสำเนา
      2. สำเนาทะเบียนบ้านของ ผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร พร้อมทั้งรับรองสำเนา
      3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของ เจ้าของที่ดิน พร้อมทั้งรับรองสำเนา
     4. สำเนาทะเบียนบ้านของ เจ้าของที่ดิน พร้อมทั้งรับรองสำเนา
     5. หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ไม่เกิน 6 เดือน และประทับตราบริษัท พร้อมกรรมการผู้มีอำนาจในการลงนามรับรองสำเนา (กรณีการขออนุญาตก่อสร้างอาคารในนามนิติบุคคล)
     6. สำเนาโฉนดที่ดินถ่ายเท่าต้นฉบับมีครบทุกหน้าทุกแผ่น พร้อมเจ้าของที่ดินรับรองสำเนาทุกหน้า
     7. รายการคำนวณ พร้อมวิศวกรรับรองสำเนา (กรณีอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างเป็น ตึก หรือ โครงสร้างเหล็ก)
     8. สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (แนบพร้อมรายการคำนวณ หรือ กรณี มีวิศวกรเป็นผู้ควบคุมงานการก่อสร้างอาคาร)
     9. สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสภาปัตยกรรมควบคุม (กรณีอาคารมีพื้นที่ใช้สอยเกิน 150 ตารางเมตร หรือ ใช้เป็นอาคารพาณิชย์, สำนักงาน)
   10. แบบแปลนที่ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง (ถ่ายเป็นสำเนาหรือพิมพ์เขียว จำนวน 5 ชุด พร้อมทั้งพับแบบด้วย)
             -  เอกสารคำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามแบบที่สำนักงานเขตจัดให้ จำนวน 1 ชุด

2. กรณีแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือ รื้อถอนอาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตาม มาตรา 39 ทวิ  หลักฐานที่ต้องใช้
     1. แบบหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ กทม. 1) หรือแบบหนังสือแจ้งความประสงค์จะเคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ กทม. 1)
     2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีที่บุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
     3. สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดต้นฉบับ และเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
     4. หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน หรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
     5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ผู้แจ้งความประสงค์ ผู้รับมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล และเจ้าของที่ดินพร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
     6. หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของสถาปนิกวิศวกรผู้ออกแบบและคำนวณพร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพ (กรณีอาคารที่ขออนุญาตอยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบุคม หรือ วิชาชีพสถาปัตยกรรม) จำนวน 1 ชุด และต้องเป็นวุฒิสถาปนิกและวุฒิวิศวกร
     7. หนังสือแสดงความยินยอม และรับรองของผู้ควบคุมงานของสถาปนิกและวิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพ จำนวน 1 ชุด
     8. หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบอาคาร ผู้ออกแบบคำนวณอาคารหรือผู้ควบคุมงานแบบ กทม. 5 จำนวน 1 ชุด
     9. แผนผังบริเวณแบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
   10. รายการคำนวณพื้นที่อาคารทุกชั้นและทุกหลัง (เพื่อประกอบการเสียค่าธรรมเนียม)

การขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า   กรณีต้องการตัดคันหินทางเท้า เพื่อใช้เป็นทางเข้า-ออก ในที่ดินหรืออาคาร    หลักฐานที่ต้องใช้
     1. คำร้องขออนุญาต
     2. สำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้าน พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
     3. แผนผังแสดงตำแหน่งที่จะขอก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด
     4. สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดิน พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 5 ชุด
     5. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (ถ้ามี) จำนวน 1 ชุด

_________________________________________________________________________________
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล                                                   0 2539 7773 

     มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ การสุขาภิบาลอาหาร การสุขาภิบาลสถานที่ ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การสุขาภิบาลทั่วไป ให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาล และถูกสุขลักษณะการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข การพัฒนาควบคุมและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขแห่งชาติ  และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่อบรม ประชาสัมพันธ์ด้านการสุขาภิบาล และการสาธาณสุข การกำจัดห้ามและระงับเหตุรำคาญ ในที่สาธารณะหรือที่เอกชน  การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

การขออนุญาตต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
1. การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 125 ประเภท     กรณีขออนุญาต (รายใหม่)   ยื่นคำขอตามแบบ
     หลักฐานที่ต้องใช้     -  บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านผู้ขอใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย)
     -  บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านผู้จัดการ หากไม่ใช่บุคคลเดียวกับผู้ถือใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาด้วย)
     -  ทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย)
     -  หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบท้ายมาด้วย) หากผู้ขอเป็นนิติบุคคล ประทับตราบริษัทและลงนามรับรองสำเนา
     -  หนังสือมอบอำนาจให้เป็นผู้ดำเนินการแทน โดยกรรมการผู้มีสิทธิ์ลงนามตามหนังสือรับรองฯ พร้อมประทับตราบริษัท
     -  หลักฐานที่ใช้แสดงว่าอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการ สามารถใช้ประกอบนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาด้วย)
    กรณีต่ออายุใบอนุญาต     หลักฐานที่ต้องใช้
    -  เหมือนกับการขออนุญาตใหม่ในข้อ (1) ยกเว้นหลักฐานการใช้อาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม
     -  ใบอนุญาตเดิม
     บทกำหนดโทษ     -  ขอต่ออายุใบอนุญาต หลังใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว ต้องเสียค่าปรับเพิ่มร้อยละ 20 ของค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ (ม.65)
     -  ไม่ต่ออายุใบอนุญาตติดต่อกันเกิน 2 วัน จะถูกสั่งให้หยุดการประกอบกิจการ จนกว่าจะชำระค่าธรรมเนียมที่ค้าง (มาตรา 65 วรรคสอง)
     -  กรณีขอรับใบแทนใบอนุญาต
        ยื่นคำขอตามแบบ
     หากแจ้งเลิกกิจการแล้วยังคงประกอบการต่อไปอีก ต้องถูกจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.71)

2. การขออนุญาตจัดตั้งตลาด 
    กรณีขออนุญาต (รายใหม่)        ยื่นคำขอตามแบบ
     หลักฐานที่ต้องใช้     -  บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านผู้ขอใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย)
     -  บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านผู้จัดการ หากไม่ใช่บุคคลเดียวกับผู้ถือใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาด้วย)
     -  ทะเบียนบ้านของบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งสถานที่ประกอบการ (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย)
     -  หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบท้ายมาด้วย) หากผู้ขอเป็นนิติบุคคลประทับตราบริษัทและลงนามรับรองสำเนา
     -  หนังสือมอบอำนาจให้เป็นผู้ดำเนินการแทน โดยกรรมการผู้มีสิทธิ์ลงนามตามหนังสือรับรองฯ พร้อมประทับตราบริษัท
     -  หลักฐานที่ใช้แสดงว่าอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการ สามารถใช้ประกอบนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาด้วย)

3. การขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (พื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร)
     กรณีขออนุญาต (รายใหม่)        ยื่นคำขอตามแบบ
     หลักฐานที่ต้องใช้     -  บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านผู้ขอใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย)
     -  บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านผู้จัดการ หากไม่ใช่บุคคลเดียวกับผู้ถือใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาด้วย)
     -  ทะเบียนบ้านของบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งสถานที่ประกอบการ (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย)
     -  หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบท้ายมาด้วย) หากผู้ขอเป็นนิติบุคคลประทับตราบริษัทและลงนามรับรองสำเนา
     -  หนังสือมอบอำนาจให้เป็นผู้ดำเนินการแทน โดยกรรมการผู้มีสิทธิ์ลงนามตามหนังสือรับรองฯ พร้อมประทับตราบริษัท
     -  หลักฐานที่ใช้แสดงว่าอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการ สามารถใช้ประกอบนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาด้วย)

การยื่นเรื่องขออนุญาตทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องเสียงขยาย

     1. ยื่นคำขออนุญาตตามแบบ ณ สถานีตำรวจท้องที่
     2. ยื่นคำขออนุญาต ซึ่งได้รับอนุญาตแล้ว จากเจ้าหน้าที่ตำรวจและชำระค่าธรรมเนียน
     หลักฐานที่ต้องใช้     -  บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย)
     -  ใบอนุญาตให้มีเพื่อใช้ซึ่งเครื่องขยายเสียงและไมโครโฟน (ถ้ามี)
     -  รายละเอียดของเครื่องขยายเสียงที่จะใช้ เช่น กำลังไฟฟ้าที่ใช้กำลังขยายเสียง จำนวนกำลังขับเสียงลำโพงที่ใช้
     -  แผนที่แสดงที่ตั้งที่จะใช้เครื่องขยายเสียง
     -  หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่หรือสัญญา เช่น กรณีผู้ขออนุญาตไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคาร หรือสถานที่ที่ขออนุญาต

_________________________________________________________________________________
ฝ่ายรายได้                                                               0-2539-7772, 0-2538-3240

     มีหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ ของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมเก็บขยะมูลฝอย ค่าอากรฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียมโรงฆ่าสัตว์ ค่าเช่าทรัพย์สิน ฯลฯ รับแบบแจ้งรายการ เพื่อชำระค่าภาษีตรวจสอบขนาด และประโยชน์การใช้สอยของโรงเรือนและที่ดิน  ตรวจสอบขนาดและประเภทของป้าย เพื่อประกอบการประเมินภาษี ติดตาม เร่งรัด ผู้รับการประเมินภาษีที่ไม่ยื่นแบบตามกำหนด และดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี  โดยรวบรวมเอกสารส่งกองกฎหมาย และคดีรวบรวม และจัดทำสถิติการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม และการรายงานการจัดเก็บภาษี จัดทำบัญชีแยกประเภททะเบียน ผลประโยชน์และปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
   1. ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน         ได้แก่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ที่เจ้าของให้เช่าที่ทำการค้าขาย ที่ไว้สินค้าที่ประกอบการอุตสาหกรรม ที่ให้ญาติ บิดา มารดา หรือผู้ อื่นอยู่อาศัย และให้ที่ประกอบการกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้ในปีที่ล่วงแล้ว เว้นแต่ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นตามข้อ 2
   2. ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
     -  พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
     -  ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาลหรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง
     -  ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรของส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา
     -  ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
     -  โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปีและเจ้าของมิได้อยู่เอง หรือให้ผู้อื่นอยู่นอกจากคนเฝ้าโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน
     -  โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เอง โดยมิไห้ใมช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้
     -  โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งเจ้าของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าทำการค้าประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้
   3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
    คือ เจ้าของทรัพย์สินตามข้อ 1 แต่ถ้าที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ เป็นของคนละเจ้าของ เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ นั้น เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีทั้งสิ้น
   4. กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
     เจ้าของทรัพย์สิน คือ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ง.ด.2) ณ สำนักงานเขตท้องที่ ซึ่งโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
   5. ฐานภาษีและอัตราภาษี
     ฐานภาษีที่นำมาคิดคำนวณเพื่อเสียภาษีรายปีของทรัพย์สินที่จะต้องเสียภาษี โดยภาษีในอัตราร้อยละสิบสองครึ่งของค่ารายปี ซึ่งคิดจากยอดรวมของค่ารายปีทั้งหมด โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนใด ๆ ทั้งสิ้น
     ค่ารายปีของทรัพย์สิน คือ จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นตามความเป็นจริงแล้วควรจะให้เช่าได้เท่าใดจริง ๆ ในปีหนึ่งเป็นเกณฑ์ ในกรณีที่ทรัพย์นั้นให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่จะใช้เช่าได้ หรือ เป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้ โดยเทียบเคียงกับค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่า ที่มีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ต้องและบริการสาธารณะที่ทรพัย์สินนั้น ได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันในเขตกรุงเทพมหานคร
   6. หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษี
     กรณีโรงเรือนรายใหม่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเริ่มเสียเป็นครั้งแรก ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ง.ด.2) พร้อมหลักฐาน ดังนี้
     -  บัตรประจำตัวประชาชน
     -  สำเนาใบให้เลขหมายประจำบ้าน
     -  สำเนาใบขออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร
     -  สำเนาสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมที่ปลูกสร้าง
     -  สำเนาโฉนดที่ดินปลูกสร้างโรงเรือน
     -  สำเนาสัญญาการเช่า
     -  สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือ ทะเบียนพาณิชย์
     -  สำเนาใบอนุญาตตั้งหรือประกอบกิจการโรงงาน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
     -  หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงการเริ่มใช้ประโยชน์ของโรงเรือนพิกัดภาษี เช่น การ์ดเชิญแขกมาเปิดอาคารใบอนุญาตประกอบกิจการค้า ใบอนุญาตใช้สถานที่ขายอาหาร
     -  สำเนาทะเบียนบ้านของโรงเรือนพิกัดภาษีและเจ้าของทรัพย์สิน
     -  แผนที่ของที่ตั้งโรงเรือนพิกัดภาษี
     -  หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่ให้ผู้อื่นมากระทำการแทน
     -  ในกรณีโรงเรือนมีผู้ถือสิทธิ์ร่วมกันหลายคน ให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมลงลายมือชื่อในแบ ภ.ง.ด.2 ในฐานะผู้รับประเมินทุกคน หรือ จะมอบอำนาจให้คนใดคนหนึ่งก็ได้ การมอบต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย
     กรณีโรงเรือนราย ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินที่เคยยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินไว้แล้ว ให้นำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งก่อนไปแสดงด้วย

การเสียภาษีป้าย
  1. ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย     ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย ได้แก่ ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อเครื่องหมายที่ใช้ในการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้ากิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมาย ที่เขียน แกะ จารึก หรือทำให้ปรากฎด้วยวิอื่น
  2. ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษีป้าย     2.1  ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณมหรสพนั้น เพื่อโฆษณามหรสพ
     2.2  ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้า หรือที่สิ่งหุ้มห่อ หรือบรรจุสินค้า
     2.3  ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
     2.4  ป้ายที่แสดงไว้ที่คน หรือสัตว์
     2.5  ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น หรือ ภายในอาคาร ซึ่งเป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง (กฎกระทรวงกำหนดว่าต้องเป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินหนึ่งตารางเมตร)  แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
     2.6  ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือ ราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ
     2.7  ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
     2.8  ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
     2.9  ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือ สถานบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถานบันอุดมศึกษาเอกชนที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชนหรือสถานบันอุดมศึกษานั้น ๆ
     2.10  ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
     2.11  ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาสนา หรือการกุศลสาธารณะ โดยเฉพาะ
     2.12  ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
     2.13  ป้ายตามที่กำหนดของกฎกระทรวง คือ
             1) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
             2) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
             3) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะ นอกเหนือ 1) และ 2) โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
      ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือเจ้าของป้ายแต่ในกรณีที่ปรากฎแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการสำหรับภาษีป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครองครองป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ

กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี     ให้เจ้าของป้ายที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคม ของทุกปี ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือ นับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี

อัตราค่าภาษี     ในการคำนวณภาษีป้ายคำนวณตามเนื้อที่ของป้ายโดยคิดเป็นตารางเซ้นติเมตร ดังนี้
     1) ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อห้าร้อยตารางเมตร
     2) ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
     3) ป้ายต่อไปนี้ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
         ก. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพ หรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่
         ข. ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
     4) ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือ เครื่องหมายบางส่วนในป้าย ที่ได้เสียภาษีป้ายแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นให้คิดอัตราตาม 1) 2) หรือ 3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น
     5) ป้ายตาม 1) 2) หรือ 3) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสียภาษี     กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่ติดตั้งใหม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) พร้อมหลักฐานดังนี้
     1. ในกรณีที่เจ้าของป้ายเป็นบุคคลธรรมดา
         - บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของป้าย
         - สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของป้าย และสำเนาทะเบียนบ้านหลังที่ป้ายติดตั้งอยู่ในกรณีที่เจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคล
         - บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนิติบุคคล
         - สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล
         - ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย
     2. กรณีป้ายรายเก่า ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย ภายในเดือนมีนาคม และให้นำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้ายไปแสดงด้วย


การเสียภาษีบำรุงท้องที่
1. ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่2. ที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่     1) ที่ดินที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
     2) ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์
     3) ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์
     4) ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
     5) ที่ดินที่ใช้ศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ไม่ว่าจะใช้ประกอบศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่ หรือที่ศาลเจ้า โดยมิได้หาผลประโยชน์
     6) ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
     7) ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือใช้เป็นสนามบินของรัฐ
     8) ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว
     9) ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดเพื่อสาธารณะประโยชน์โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้ หรือหาผลประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น
     10) ที่ดินเป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง
     11) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการของสถานฑูต หรือสถานกงสุล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
     12) ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่     ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ คือผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม ของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปีนั้น
4. กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี     ให้เจ้าของที่ดินซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท. 5) ณ สำนักงานเขตท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนมกราคมของปีแรก ที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน แบบแสดงรายการที่ยื่นไว้นั้นให้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลา 4 ปีนั้น

                      แบบฟอร์มภาษีโรงเรือน                                 
                     แบบฟอร์มภาษีบำรุงท้องที่
                     แบบฟอร์มภาษีป้าย


_________________________________________________________________________________
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ                       0-2539-8246
      email : Public_Cleansing@hotmail.com

        มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การลดมลพิษ และรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การให้บริการด้านทำความสะอาดบนผิวจราจร รวมถึงฟุตบาท ทางเท้า การบริการด้านการเก็บขยะมูลฝอย การบริการขนถ่ายสิ่งปฎิกูล การบริการด้านสวนสาธารณะ การปรับปรุงดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ ตกแต่งตัดหญ้าในที่สาธารณะต่าง ๆ รวมถึงการให้บริการต่าง ๆ ตามที่ประชาชนในพื้นที่ร้องขอในขอบเขตที่สำนักงานเขตปฏิบัติงานได้ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
     ในส่วนการให้บริการแก่ประชาชน ได้แก่

1. งานเก็บขยะมูลฝอย     จัดเก็บขยะมูลฝอยตามริมถนน อาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย ตามตรอกซอยต่าง ๆ
2. งานบริการด้านขนถ่ายสิ่งปฏิกูล     โดยประชาชนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ แจ้งความจำนงด้วยตนเอง หรือโทรศัพท์หมายเลข  0 2539 1787 0 2539 8246 ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยผู้ที่ประสงค์จะใช้บริการต้องแจ้งชื่อ สกุล บ้านเลขที่ หรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และผู้แจ้งต้องขอหมายเลขรหัสไว้เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าตรงกันกับซองใส่รหัสที่เจ้าหน้าที่ที่มาให้บริการ มอบให้ผู้แจ้งหรือไม่ถ้ารหัสตรงกันก็ให้ดำเนินการสูบสิ่งปฏิกูลได้
3. การบริการตัดต้นไม้     ติดต่อโดยตรงที่ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ สำนักงานเขตลาดพร้าว ในเวลาราชการโดยต้องเสียค่าบริการตามอัตราในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องค่าบริการ พ.ศ.2530
4. การชำระค่าธรรมเนียม     การชำระค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอย กระทำได้ 2 วิธี คือ
     1) สำนักงานเขตมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปจัดเก็บตามอาคาร บ้านเรือนต่าง ๆ ในเวลาราชการ โดยออกใบเสร็จรับเงินของกรุงเทพมหานคร ไว้เป็นหลักฐานการรับเงิน
     2) ชำระด้วยตนเอง ที่ฝ่ายรักษษความสะอาดและสวนสาธารณะในเวลาราชการ

       
_________________________________________________________________________________
ฝ่ายการศึกษา                                                                                         0-2539-8247

        มีหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการสารบรรณและธุรการทั่วไป การเงินบัญชีและพัสดุ การปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แก่สำรวจเด็กเพื่อการเกณฑ์เด็กเข้าเรียน ผ่อนผันยกเว้นเด็กเข้าเรียน ตามเกณฑ์ควบคุมเด็กในเกณฑ์บังคับ ติดตามเด็กขาดเรียน จำหน่ายเด็ก จัดตั้ง ยุบ เลิก รวมและเปลี่ยนแปลงโรงเรียน งานกิจกรรมนักเรียนของสถานศึกษา ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของข้าราชการครู และลูกจ้างของโรงเรียน และข้าราชการในงานศึกษาธิการ การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการ คุรุสภา การนิเทศการศึกษา การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุมสัมมนาครู การนิเทศ การตรวจเยี่ยมงานสนับสนุนวิชาการ การวิจัยประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา จัดทำรายงานและเผยแพร่ การประสานงาน วิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

1. การแจ้งเด็กในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับเข้าเรียน
    เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่แปด จนถึงย่างเข้าปีที่สิบห้า จะต้องเข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา เว้นแต่ผู้ที่สอบได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้ว (การนับอายุให้นับตามปฏิทิน หรือนับ พ.ศ. โดยไม่คำนึงถึงวันและเดือนแต่อย่างใด ทั้งนี้ให้นับ พ.ศ.เกิด เป็นปีที่หนึ่ง และ พ.ศ. ต่อมาเป็นปีที่สอง และปีที่สามตามลำดับเรื่อยมาจนถึงปีปัจจุบัน) ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. - 31 ธ.ค. ของทุกปี บิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็ก ที่มีอายุย่างเข้าปีที่แปด จะต้องไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ที่ฝ่ายการศึกษาสำนักงานเขต ที่มีภูมิลำเนาอยู่หรือสถานที่ที่มีประกาศกำหนดเพื่อส่งเด็กเข้าเรียน
    ถ้าบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็ก ไม่สามารถไปแจ้งการสำรวจเด็กที่มีอายุถึงเกณฑ์ เพราะป่วยด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ยังต้องให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทนตน และแสดงหลักฐานให้แน่ชัด
     หลักฐานที่ต้องใช้     1. สูติบัตร
     2. สำเนาทะเบียนบ้าน
     3. บัตรประจำตัวประชาชน


2. การผ่อนผันยกเว้นเด็กในเกณฑ์
    บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง จะขอผ่อนผันหรือยกเว้นเด็กในเกณฑ์จากการเรียนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาได้ในกรณีต่อไปนี้
     2.1 มีความบกพร่องในทางร่างกายหรือจิตใจ
     2.2 เป็นโรคเรื้อน หรือวัณโรคในระยะอันตราย
     2.3 ต้องหาเลี้ยงผู้ปกครองซึงทุพพลภาพ ไม่มีหนทางเลี้ยงชีพและไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดูแทน
     2.4 อยู่ห่างจากโรงเรียนประถมศึกษาที่สอนให้เปล่า ตามเส้นทางคมนาคมเกินสามกิโลเมตร
     2.5 เคยบำนักอาศัยในต่างประเทศหรือศึกษาในต่างประเทศ และกลับมาอยู่ในประเทศไทย โดยมีความจำเป็นด้านภาษา อายุ หรือระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา
     2.6 เด็กที่ผู้ปกครองมีความจำเป็นต้องจัดการศึกษาอบรมด้วยตนเอง หรือต้องให้เข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
     หลักฐานที่ต้องใช้     1. บัตรประจำตัวประชาชน บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
     2. สำเนาทะเบียนบ้าน
     3. กรณี 2.1 และ 2.2 ต้องนำใบรับรองแพทย์ไปเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย


3. การแก้ไขทะเบียนนักเรียนเกี่ยวกับชื่อตัว และชื่อสกุลของนักเรียน
      3.1 ในกรณีขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล จากเดิม ให้ผู้ขอแก้นำหลักฐานการอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ซึ่งทางราชการได้ออกให้มาแสดง
     3.2 ในกรณีที่มีชื่อตัว ชื่สกุล ไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งไม่ใช่ความผิดพลาดของโรงเรียน ให้ผู้ขอแก้นำหลักฐานมาแสดง
     ทั้งสองกรณีดังกล่าวนี้ ถ้าเป็นนักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์บังคับให้เรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา ต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตหรือผู้แทน ซึ่งได้รับมอบหมาย
     3.3 ในกรณีที่ชื่อตัว ชื่อสกุล ผิดพลาดจากทางโรงเรียนเอง เช่น การเขียนผิดพลาด สะกดการันต์ผิดเป็นต้น ให้ผู้บริหารโรงเรียนแต่ผู้เดียวเป็นผู้แก้ไข


________________________________________________________________________                                                                             
ฝ่ายการคลัง                                                  0 2539 7174,0 2538 8377                                                                                               
       มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงาน และควบคุมเกี่ยวกับการรับเงินในสำนักงาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตามระบบ (MIS 2) และการรับเงินประเภทอื่น ๆ การเบิกจ่าย การจัดทำบัญชี การจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ของส่วนราชการต่าง ๆ การจัดทำงบประมาณประจำปี และควบคุมการใช้จ่ายเงิน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดทำและตรวจสอบฎีกาเบิกจ่าย และตรวจสอบหลักฐานให้ถูกต้อง ตามระเบียบการปฏิบัติงาน ตามระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานครรวม 6 ระบบงาน ได้แก่ ระบบการเงิน ระบบงานบัญชี  ระบบงานงบประมาณ  ระบบงานจัดซื้อ  ระบบงานจัดจ้าง และระบบงานบัญชีทรัพย์สิน และปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่เกี่ยวข้อง

1. การรับเงินประกันซองประกวดราคา
     หลักเกณฑ์
     เมื่อมีการประกาศแจ้งความประกวดราคาซื้อหรือจ้าง ผู้เสนาราคาจะต้องนำหลักประกันซองเป็นจำนวนเงินอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง วางไว้กับหน่วยงานที่ดำเนินการประกวดราคาซื้อหรือจ้างอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
     1) เงินสด
     2) เช็คที่ธนาคารรับรอง หรือเช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อกรุงเทพมหานคร หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วันทำการ (ไม่รับเช็คล่วงหน้า)
     3) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศที่กรุงเทพมหานครเชื่อถือตามแบบของกรุงเทพมหานคร
     4) พันธบัตรรัฐบาลไทย

2. การถอนเงินประกันซองประกวดราคา
     หลักเกณฑ์
     1) เมื่อทราบผลการประมู่ลในวันเปิดซองว่าประมูลไม่ได้ ก็ขอถอนได้จากคณะกรรมการเปิดซองได้ทันทีเว้นแต่คณะกรรมการเปิดซองเห็นว่าควรให้ยึดไว้เพื่อรอการอนุมัติก็ให้ถอนในภายหลัง
     2) สำหรับผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการพิจารณาจะคืนให้หลังวันเซ็นสัญญา คือเมื่อผู้มีอำนาจซื้อหรือสั่งจ่ายได้มีคำสั่งเด็ดขาดให้สั่งซื้อ หรือจ้าง จากผู้เข้าประกวดราคารายใดแล้ว เรียกให้ผู้ประกวดราคารายนั้นมาเซ็นสัญญาสั่งซื้อหรือสั่งจ่ายแล้ว
     หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง     1) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นเจ้าของกิจการ
     2) กรณีผู้เป็นเจ้าของกิจการไม่สามารถมาด้วยตนเองได้ อาจมอบหมายบุคคลอื่นมาทำการแทน โดยต้องนำบัตรประชาชนของผู้ได้รับมอบและหนังสือมอบอำนาจ
     3) เอกสารที่เจ้าหน้าที่การเงินออกให้เป็นหลักฐานในการรับเงินประกันซอง

3. การถอนเงินประกันสัญญา
     หลักเกณฑ์
     หลังจากวันที่ส่งของถูกต้องครบถ้วน ตามสัญญาหรือวันที่รับมอบงานแล้ว และพ้นภาระผูกพันตามสัญญา ผู้ยื่นหลักประกันสามารถขอถอนหลักประกันสัญญาคืนได้
     หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง     1) หลังสือของบริษัท ห้าง ร้าน ถึงหน่วยงานที่ซื้อหรือจ้าง แจ้งรายละเอียดขอถอนหลักประกันสัญญา
     2) กรณีหลักประกันสัญญาเป็นเงินสด ต้องแนบใบเสร็จรับเงินที่เจ้าหน้าที่การเงินออกให้ในวันที่มาทำสัญญาด้วย

4. การรับเงิน
     หลักเกณฑ์
     งบ กทม. ผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ดำเนินงานเสร็จบริบูรณ์ ให้มารับเงินค่าสินค้าหรือค่าจ้างเหมาที่ฝ่ายการคลัง เมื่อได้รับอนุมัติจากสำนักการคลังกรุงเทพมหานคร ได้โอนเงินมาจ่ายที่ฝ่ายการคลังสำนักงานเขตแล้ว
     หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง     1) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นเจ้าของกิจการ
     2) กรณีผู้เป็นเจ้าของไม่สามารถมาด้วยตนเอง อาจมอบหมายบุคคลอื่นมาแทน โดยต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นเจ้าของบัตรประจำตัวประชาชนของผุ้รับมอบ และหนังสือมอบอำนาจมาด้วย
     3) ใบเสร็จรับเงินค่าสินค้า หรือค่าจ้างเหมา
     ค่าธรรมเนียม     1) ในกรณีที่ผู้รับเงินเป็นผุ้ขายสินค้าให้กับสำนักงานเขต จะต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้
         ภาษีเงินได้
              - นิติบุคคล ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
              - ร้านค้า ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
     2) ในกรณีที่ผู้รับเงินเป็นผู้รับจ้างทำงานให้สำนักงานเขต จะต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้
         2.1 ภาษีเงินได้
              - นิติบุคคล ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
              - ร้านค้า ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%
         2.2 ติดอากร ใบสั่งจ่าย หรือสัญญาจ้างพันละ 1 บาท


_________________________________________________________________________________
ฝ่ายเทศกิจ                                                                                            0 2539 7774

       มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง และบังคับให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร การวางแผนปฏิบัติงาน การชี้แจงประชาสัมพันธ์ การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยจำแนกฐานความผิดที่สำคัญแยกตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้
     - พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
     - พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
     - พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535
     - พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
     - พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508
     - พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510
     - พ.ร.บ. ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493
     - พ.ร.บ. ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2502
     - พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535
     - พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
     - ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยในโรงภาพยนตร์และรถยนต์ประจำทาง พ.ศ. 2519


การติดต่อกับฝ่ายเทศกิจ     1) การชำระค่าเปรียบเทียบปรับ
         - บัตรประจำตัวประชาชน
         - เงินค่าเปรียบเทียบปรับ
     2) การร้องเรียนด้วนตนเอง
         - บัตรประจำตัวประชาชน
     3) การยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ค้า
         - บัตรประจำตัวประชาชน
         - สำเนาทะเบียนบ้าน
         - รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูป


_________________________________________________________________________________

ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม             0 2538 6399 
                                                                             
       มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการพัฒนาชุมชน ทั้งด้านกายภาพเศรษฐกิจ สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ทั้งในชุมชนแออัด ชุมชนชานเมือง เคหะชุมชน หมู่บ้านจัดสรร และชุมชนเมืองที่กรุงเทพมหานครกำหนดขึ้น การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน การสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนและทางราชการ การสนับสนุให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชน และการปรับปรุงชุมชนบุกรุก ชุมชนก่อสร้าง ในด้านการศึกษา การสาธารณสุขและการรักษาความสะอาด การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการรื้อย้ายชุมชนบุกรุก และจัดหาที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ที่เหมาะสม ให้การสงเคราะห์แก่ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
     ส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาจิตใจ การจัดอบรมให้คำปรึกษาแนะนำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และความคิดริเริ่มในการพัฒนาชุมชน การส่งเสริมอาชีพของประชาชน เช่น จัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น และประสานงานจัดหาแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตร สภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อการเกษตร จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้การรวมกลุ่ม การจัดสัมมนาศึกษาดูงาน การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (1 ล้านบาท) จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชนด้วยการจัดตั้งลานกีฬา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง                                         
   




                                                  ,